Life Is Beautiful | ยิ้มไว้โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง (1997)

Life-Is-Beautiful (1997)

Life Is Beautiful วันนี้เรามีหนังเกี่ยวการเสียดสีในสงครามโลกครั้งที่2 มาสปอยให้ทุกคนได้อ่านกัน หนังเรื่องนี้เราไปเจอมาใน เว็บดูหนังออนไลน์ ซึ่งชื่อเรื่องหนังนั้นชวนให้เราอยากดูมาก แต่ในความจริงแล้วมันเป็นหนังที่หดหู่มากกว่า 

Life-Is-Beautiful

ถึงแม้หนังเป็นนี้จะเป็นหนังแนว ตลก Comedy แต่จริงๆแล้วเนื้อเรื่องนั้นแฝงไปด้วยความดราม่าอยู่ลึกๆ เรื่องราวของ กุยโด (โรเบอร์โต้ เบนิญี) ชายหนุ่มช่างฝัน มองโลกในแง่ดี ที่ฝันจะมีร้านขายหนังสือของตัวเอง ในปี 1939 เขาย้ายเข้ามาอยู่ที่อเรซโซ และตกหลุมรัก ตอร่า (นิโคเลตต้า บราสชี) ครูสาวแสนสวยทันทีที่เห็น ทั้งคู่ได้แต่งงานกัน และมีลูกชายชื่อ โจซัว (จิออร์จิโอ แคนทารินี่) กุยโดสามารถเปิดร้านหนังสือในฝันได้สำเร็จ แต่ไม่นานเหตุการณ์ที่โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่มนุษย์พึงจะกระทำต่อมนุษย์ด้วยกันได้ กุยโดต้องปกป้องภรรยาและลูกชายจากการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ยิว เมื่อโลกโหดร้ายกว่าที่คาด สถานการณ์ไม่เป็นอย่างที่คิด กุยโดต้องใช้จินตนาการ ความรัก และความหวังปกป้องครอบครัวจากความโหดร้ายของสงครามให้ได้ และถึงแม้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เขาก็ยังคิดและเชื่ออยู่เสมอว่า “ชีวิตเป็นสิ่งสวยงาม”

Life is Beautiful (1997, Roberto Benigni) เล่าถึงชายคนหนึ่งนามว่า “กุยโด” ชายผู้เปี่ยมไปด้วยความร่าเริงสดใส ชายผู้มองโลกในแง่ดี ชายที่เปี่ยมล้นไปด้วยจินตนาการอันไม่สิ้นสุด ชายผู้ที่มักจะพูดจาทีเล่นทีจริงอยู่เสมอ ชายผู้ที่เรียกดอร่า-คนรักของเขาว่า “เจ้าหญิง” จนในที่สุดก็ได้แต่งงานกันและมีลูกชายนามว่า “โจชัว” จนเมื่อกาลล่วงเลยมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชีวิตของชายผู้นี้ต้องถึงคราวเคราะห์เพียงเพราะว่าเขามีเชื้อสาย “ยิว” เช่นเดียวกับหนังที่เล่าถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั่วๆไป หนังจึงมีการแสดงถึงความโหดร้ายจากภาวะสงคราม ท่ามกลางกระแสคลั่งลัทธิฟาสซิสต์ ผู้นำทางเผด็จการอย่างฮิตเลอร์, มุสโสลินี และนายพลโตโจกำลังเป็นใหญ่ มีการกวาดล้างชาวยิว (ว่ากันว่าฮิตเลอร์ทวีความเกลียดชังต่อคนยิวด้วยเหตุผลที่ว่าเขาติดโรคซิฟิลิสจากชาวยิว) ในหนัง-ร้านของคนยิวถูกคนเข้ามาอาละวาดทำลายข้าวของ, ม้าของคนยิวถูกสีขีดเขียนให้เลอะเทอะ, กุยโดและโจชัวถูกเกณฑ์ไปในค่ายกักกันชาวยิว ที่ผู้กำกับสร้างบรรยากาศของค่ายที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกอึดอัด ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทนภาพที่ดูแห้งแล้ง ห้องนอนของคนยิวที่ดูสกปรกและมืดทึบ (แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับอีกฉากในงานเลี้ยงของพวกคนเยอรมันที่ดูหรูหรา) หรือการแสดงออกทางสีหน้าของคนในค่าย ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวที่หน้าตาเหมือนคนไร้ซึ่งความหวัง พวกทหารเยอรมันที่ตีสีหน้าทมิงถึงอยู่ตลอดเวลา แม้แต่เด็กๆในค่ายที่ดูจะไม่มีความสุขนัก ยกเว้นแต่เพียงคนเดียวที่แสดงสีหน้าชื่นบานได้ตลอดทั้งเรื่อง นั่นคือกุยโด นี่จึงเป็นข้อแตกต่างของหนังเรื่องนี้จากเรื่องอื่นๆ เช่น The Pianist หรือ Salo … The Pianist (2002, โรมัน โปลันสกี – ได้รับรางวัลปาล์มทองคำจากคานส์ปี 2002) ใช้หนังแสดงความโหดร้ายของการกวาดล้างคนยิวกระแทกกระทั้นจิตใจคนดู ด้วยฉากจับคนยิวมาเรียงแถว แล้วยิงทิ้งทีละคน ส่วน Salo (1975, เปียร์ เปาโล ปาโซลินี่) ช็อคคนดูด้วยเรื่องราวของวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ถูกชนชั้นขุนนางลัทธิฟาสซิสต์จับไปทรมานในคฤหาสน์ถึง 3 ครั้ง 3 ครา 3 วิธีการ (ผ่านวงเวียนแห่ง “การเสพสังวาส” “อาจม” และ “เลือด”) แต่ใน Life is Beautiful กุยโดกลับพูดกับลูกหน้าตาเฉยว่าสงครามมันเป็นเพียงแค่ “เกม”

ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากเรื่องอื่นๆก็คือ “การมองโลกในแง่ดี” และการถ่ายทอดออกมาอย่าง “งดงาม” กุยโดผูกเรื่องราวขึ้นมาว่าเขาและลูกถูกจับมาค่ายกักกันเพื่อเล่มเกมชิงรถถัง ผู้ใดทำคะแนนได้ถึงหนึ่งพันคะแนนก่อนจะได้มันไป บทภาพยนตร์แสดงความเฉลียวฉลาดด้วยการที่กุยโดต้องแก้สถานการณ์ต่างๆไปตลอดทั้งเรื่อง อีกนัยคือเขาต้อง “สร้างเรื่อง” หรือ “โกหก” ลูกชายของเขาเพิ่มขึ้นๆ ดังเช่นเมื่อโจชัวงอแงจะกลับบ้าน เขาก็ใช้กลที่ว่า “คะแนน” ของทั้งสองกำลังจะใกล้ถึง “เป้าหมาย” แล้ว จึงทำให้โจชัวยอม “เล่นเกม” ต่อ นั่นคือหนังมุ่งเน้นให้กุยโดเป็น “ผู้ดำเนินเกม” ในเรื่อง กุยโดคือชายผู้ร่าเริง-มีอารมณ์ขัน-มองโลกในแง่ดี (เมืองที่กุยโดอยู่มีร้านเขียนป้ายว่า “ห้ามคนยิวเข้า” แต่หน้าร้านหนังสือของเขากลับเขียนว่า “ร้านคนยิว”) แต่บางเวลาหนังแสดงให้เห็นด้านที่ว่ากุยโดก็เป็นมนุษย์ธรรมดา ดังเช่นฉากที่กุยโดต้องแบกเหล็กที่ทั้งหนักทั้งร้อน เขาก็เอาแต่บ่นตลอดทาง (ถึงกระนั้นก็ยังเป็นการบ่นแบบเจืออารมณ์ขัน) และที่สำคัญกุยโดเป็นคนฉลาด ไม่ว่าจะเป็นการปั้นเสริมเติมแต่งเรื่องของเกมในค่ายกักกันให้โจชัวฟัง การที่เขาชอบเล่นถามตอบปัญหาเชาว์ หรือฉากที่เสนอตัวออกไปแปลประโยคที่ทหารเยอรมันพูด ที่เขาสามารถ “โม้” ได้อย่างสดๆและสุดๆ เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่ส่งเสริมว่าหนึ่งในสารที่หนังอาจจะต้องการเสนอก็คือ ความฉลาดหลักแหลมของชาวยิว หลักฐานในทางรูปธรรมเราก็พบเห็นได้จริง อัลเบิร์ต ไอสไตน์คิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพ หรือผู้กำกับสตีเวน สปิลเบิร์กที่สามารถเนรมิตหนังได้หลากหลายแนวจนได้ฉายา “พ่อมดแห่งฮอลลีวูด” (ครั้งหนึ่งสปิลเบิร์กก็เคยทำหนังเกี่ยวกับการกวาดล้างยิวมาแล้วใน Schindler ’s List (1993) ซึ่งได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากออสการ์ไป) อีกสารที่ผู้กำกับสอดแทรกเข้ามาในหนัง อย่างฉากในงานเลี้ยงที่มีการแสดงชุด “ม้าเอธิโอเปีย” นัยว่าต้องการเสียดสีระบบล่าอาณานิคม เพราะในสมัยนั้นอิตาลีได้เข้าไปยึดโอธิโอเปีย และจากนั้นก็รีบขโมยซีนด้วยการให้กุยโดขี่ม้าขาวมารับดอร่าพาหนีไปจากงานแต่งงาน ดังนั้นกุยโดจึงถือเป็นอัศวินขี่ม้าขาวตัวจริง นอกจากจะมีการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic) ในรูปของฉาก-บรรยากาศ หรือการแสดงทางสีหน้าแล้ว ยังมีการใช้ “สี” เป็นตัวขับเน้นเรื่องราวด้วย เช่น ในฉากที่ดอร่าตัดสินใจจะขึ้นรถที่พาชาวยิวไปค่ายกักกันเพื่อตามสามีและลูกของเธอไป ขณะนั้นเธอใส่ชุดสีแดง ที่ดูโดดเด่นมีสีสันและชีวิตชีวา ไม่เข้ากับบริเวณที่มีกลิ่นอายแห่งความสิ้นหวังแห่งนั้น นั่นคือการแสดงความแปลกแยก (alienation) ว่าดอร่าไม่ใช่คนยิว แต่ในที่สุดไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหนเธอก็ยอมร่วมรับชะตากรรมและรับรู้ความทุกข์ยากไปพร้อมๆกับสามีและลูกด้วย (ภายหลังเธอจึงได้ใส่ชุดโทรมๆเหมือนคนยิว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากุยโดจะทำให้เราเห็นว่าชีวิตท่ามกลางสงครามก็มีความงดงามเกิดขึ้นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ หนังมหาปรัชญาเรื่องล่าสุดแห่งไตรภาค qatsi (หลังจาก Koyaaniqatsi และ Powaqqatsi) ของก็อดฟรีย์ เรจิโออย่าง Naqoyqatsi (2003) นั้นเป็นภาษาอินเดียนแดงที่แปลได้ว่า “Life as War” และสุดท้ายเพื่อนๆอย่าลืมไปตามดูได้ในเว็บหนังนะคะ หนังต่างประเทศ เรื่องนี้ถือว่าเป็นหนังดีเรื่องนึงเลยค่ะ